
เฉลย แนวข้อสอบรับตรงนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ข้อ. 1
ข้อนี้ น้องๆ ต้องเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็นรัฐเสียก่อน ซึ่งมีหลายตำราบอกว่า องค์ประกอบของความเป็นรัฐมี 3 อย่างบางตำราก็บอกว่ามี 4 อย่าง แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็ถูกต้องทั้งนั้น
องค์ประกอบของความเป็นรัฐ ตามความเห็นของนักรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น Rosenau (1989: 17) ได้แก่
- มีดินแดนที่แน่นอน ชัดเจน
- มีพลเมือง หรือ ประชากรที่อยู่อาศัยอย่างถาวร
- มีรัฐบาล
- มีความสามารถที่จะมีความสัมพันธ์กับรัฐอื่น
องค์ประกอบของความเป็นรัฐตามแนวคิดของนิติศาสตร์ ได้แก่
- มีดินแดนที่แน่นอน ชัดเจน
- มีพลเมือง หรือ ประชากรที่อยู่อาศัยอย่างถาวร
- มีอำนาจรัฐ (อำนาจอธิปไตย)
โดยอำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองของรัฐอัน แบ่งตามทฤษฐีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (ของมองเตสกิเออ) ได้แก่
3.1 อำนาจนิติบัญญัติ หรือ การออกกฎหมาย
3.2 อำนาจบริหาร คือ การปกครองประเทศ บริหารประเทศ
3.3 อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดี
ดังนั้น แล้วหากพิจารณาของตัวเลือกของข้อสอบ ก็สามารถตัดตัวเลือก ออกได้ทั้ง ก และ ข. จึงเหลือ ตัวเลือก ค และ ง ที่อาจมีความสับสนได้ว่า ควรจะเลือกตอบข้อใดดี
หลักการตอบข้อสอบประเภทตัวเลือกที่สำคัญ คือ เลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุดใน 4 ตัวเลือกนั้นๆ เมื่อพิจารณาแล้ว
ตัวเลือก ค. อำนาจในการออกกฎหมาย ก็คือ ส่วนหนึ่ง ของอำนาจอธิปไตย หรืออำนาจรัฐนั่นเอง
ส่วนตัวเลือก ง. อำนาจบริหาร และการปกครอง ก็คือส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย หรืออำนาจรัฐอีก…แต่…ตัวเลือกนี้มีข้อความอีกว่า…แบบยุติธรรม….ซึ่งคำว่าแบบยุติธรรมนี้ไม่ใช่สาระสำคัญ…ของอำนาจอธิปไตย เพราะ อำนาจปธิปไตยคือ อำนาจสูงสุดของรัฐที่ผู้ปกครองสามารถบังคับใช้กฎหมาย เพื่อปกครองประชาชนในรัฐได้ ส่วนยุติธรรม หรือไม่ยุติธรรมนั้น ไม่ใช่สาระสำคัญ ในองค์ประกอบนี้
ตัวอย่างเช่น เกาหลีเหนือ ในทางกฎหมาย ก็นับได้ว่าเป็นรัฐ เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แม้ในสายตาหลายคนจะมองว่า ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ไม่ยุติธรรม แต่ก็มีความเป็นรัฐ อยู่ดีจ้าาา
สรุป ข้อนี้จึงต้องตอบ ข้อ ง. มีการปกครองบริหารประเทศแบบยุติธรรม