เฉลย แนวข้อสอบรับตรงนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ข้อ. 1

ข้อนี้ น้องๆ ต้องเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็นรัฐเสียก่อน ซึ่งมีหลายตำราบอกว่า องค์ประกอบของความเป็นรัฐมี 3 อย่างบางตำราก็บอกว่ามี 4 อย่าง แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็ถูกต้องทั้งนั้น

องค์ประกอบของความเป็นรัฐ ตามความเห็นของนักรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น Rosenau (1989: 17) ได้แก่

  1. มีดินแดนที่แน่นอน ชัดเจน
  2. มีพลเมือง หรือ ประชากรที่อยู่อาศัยอย่างถาวร
  3. มีรัฐบาล
  4. มีความสามารถที่จะมีความสัมพันธ์กับรัฐอื่น

องค์ประกอบของความเป็นรัฐตามแนวคิดของนิติศาสตร์ ได้แก่

  1. มีดินแดนที่แน่นอน ชัดเจน
  2. มีพลเมือง หรือ ประชากรที่อยู่อาศัยอย่างถาวร
  3. มีอำนาจรัฐ (อำนาจอธิปไตย)

โดยอำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองของรัฐอัน แบ่งตามทฤษฐีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (ของมองเตสกิเออ) ได้แก่
3.1 อำนาจนิติบัญญัติ หรือ การออกกฎหมาย
3.2 อำนาจบริหาร คือ การปกครองประเทศ บริหารประเทศ
3.3 อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดี

ดังนั้น แล้วหากพิจารณาของตัวเลือกของข้อสอบ ก็สามารถตัดตัวเลือก ออกได้ทั้ง ก และ ข. จึงเหลือ ตัวเลือก ค และ ง ที่อาจมีความสับสนได้ว่า ควรจะเลือกตอบข้อใดดี

หลักการตอบข้อสอบประเภทตัวเลือกที่สำคัญ คือ เลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุดใน 4 ตัวเลือกนั้นๆ เมื่อพิจารณาแล้ว
ตัวเลือก ค. อำนาจในการออกกฎหมาย ก็คือ ส่วนหนึ่ง ของอำนาจอธิปไตย หรืออำนาจรัฐนั่นเอง
ส่วนตัวเลือก ง. อำนาจบริหาร และการปกครอง ก็คือส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย หรืออำนาจรัฐอีก…แต่…ตัวเลือกนี้มีข้อความอีกว่า…แบบยุติธรรม….ซึ่งคำว่าแบบยุติธรรมนี้ไม่ใช่สาระสำคัญ…ของอำนาจอธิปไตย เพราะ อำนาจปธิปไตยคือ อำนาจสูงสุดของรัฐที่ผู้ปกครองสามารถบังคับใช้กฎหมาย เพื่อปกครองประชาชนในรัฐได้ ส่วนยุติธรรม หรือไม่ยุติธรรมนั้น ไม่ใช่สาระสำคัญ ในองค์ประกอบนี้

ตัวอย่างเช่น เกาหลีเหนือ ในทางกฎหมาย ก็นับได้ว่าเป็นรัฐ เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แม้ในสายตาหลายคนจะมองว่า ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ไม่ยุติธรรม แต่ก็มีความเป็นรัฐ อยู่ดีจ้าาา

สรุป ข้อนี้จึงต้องตอบ ข้อ ง. มีการปกครองบริหารประเทศแบบยุติธรรม