เฉลย แนวข้อสอบรับตรงนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ข้อ. 2
ข้อนี้ น้องๆ ต้องรู้จักก่อนว่าความผิดอันยอมความได้ คืออะไร ?
ความผิดอันยอมความได้ คือ ความผิดต่อส่วนตัวโดยผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายมากกว่ารัฐ หรือส่วนร่วม ดังนั้น ผู้เสียหายจึงมีสิทธิ์พิจารณาว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป หรือไม่ หากผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดี คือ ไม่ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน พนักงานสอบสวนก็ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีได้เลย
ดังนั้น แล้วหากน้องๆ ไม่แน่ใจว่าจะสอบข้อไหน วิธีการคิดของข้อนี้ก็คือ ความผิดในข้อไหนที่ส่งผลกระทบต่อส่วนร่วม หรือสังคมน้อยที่สุดนั่นเอง
พิจารณาตัวเลือก ง. เนี้ย น่าจะต้องตัดออกไปอันแรกเลยว่าไหมเนอะ 55+ เพราะการทำร้ายร่างกายจริงอยู่ว่าผู้เสียหายเจ็บคนเดียว แต่มันกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐด้วย ดังนั้น ความผิดต่อเนื้อตัวร่างกายต่าง เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้แน่นอนจ้า
ข้อ ข. หากด้วยผ่านๆ ก็น่าจะถูก เพราะ ฉ้อโกง สามารถยอมความได้ แต่ !!! ฉ้อโกงประชาชน ยอมความไม่ได้จ้า เพราะมีผู้เสียหายเยอะมากกว่า ฉ้อโกงธรรมดานั่นเอง จึงกระทบต่อสังคมมากกว่า
เหลือตัวเลือก 2 ตัว (อีกแล้ว) คือ ก. และ ค. หากดูผ่านๆ (อีกแล้ว) น้องๆ หลายคนอาจเคยอ่านเจอมาว่า ความผิดฐาน หมิ่นประมาท สามารถยอมความได้ ซึ่งถูกต้องแล้วออเจ้า…เอ้ย !! แต่ตัวเลือก ก. มันเป็นความผิดดูหมิ่นซึ่งหน้า ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ตามภาค 3 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งยอมความกันไม่ได้เลยยยย….
ซึ่งความผิดดูหมิ่นซึ่งหน้านี้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อส่วนรวมมากกว่า ตัวอย่าง เช่น “ถ้าไม่เห็นแก่ผ้าเหลือง หรือไม่ใช่พระจะเตะให้ตกกุฎิให้หมดเลย” (ฎ 541/2504) (แหมอะไรจะโหดขนาดนั้น)
สรุป จึงเหลือความผิดฐานเดียว คือยักยอก จ้าาา ตอบ ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้องงน้าค้าบบบ ^ ^ เพราะความผิดฐานนี้ การครอบครองทรัพย์อยู่กับผู้กระทำผิดอยู่แล้วภายหลังจึงได้เบียดบังไป อันกระทบต่อผู้เสียหายมากกว่ารัฐจ้าา
จบไปแล้วสำหรับข้อนี้นะครับ หวังว่าน้องๆ จะได้ความรู้ วิธีการคิด ที่มากกว่าการท่องจำเพียงอย่างเดียว
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจ อยากสอบตรง นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และกำลังมองหาสถานที่เรียน ที่สอนให้น้องๆ คิดเป็น เข้าใจและเรียนกฎหมายอย่างมัความสุขแล้วละก็ ขอฝากสถาบันนี้ ไว้ในอ้อมอกของน้องๆ ด้วยน้าาา >///< ขอบคุณค้าบบ