เฉลยอย่างละเอียด ข้อนี้น้อง ๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย และผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตย โดยหลักอำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เพื่อให้ทั้ง 3 อำนาจนี้ถ่วงดุล และตรวจสอบกันเอง ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
โดย อำนาจนิติบัญญัติ คืออำนาจในการออกกฎหมาย โดยมีรัฐสภา เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนอำนาจบริหาร คือ การใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกให้ เพื่อใช้ในการบริหาร ปกครองประเทศ โดยมีคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ และสุดท้ายคือ อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสิน วินิจฉัยคดีต่าง ๆ โดยมีศาล เป็นผู้ทำหน้าที่
ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร จะเข้ามาทำหน้าที่ได้ ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยฝ่ายนิติบัญญัติ ประชาชน จะเลือก คนที่เข้ามาทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่ ตำแหน่งที่ชื่อว่า สมาชิสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.)
แต่ !! หน้าที่ของ สส. ไม่ได้มีเพียงแค่ออกกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ทำหน้าที่ในการโหวตเลือกในสภา ตั้งบุคคลที่สมควรจะไปเป็น นายกรัฐมนตรี หรือ บุคคลที่จะเข้าไปเป็นฝ่ายบริหารด้วยนั่นเอง !! น้อง ๆ เห็นหรือยังว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารเอง ก็มีความสัมพันธ์กันอยู่ ไม่ได้แยกออกจากันอย่างเด็ดขาด และฝ่ายบริหาร ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนแต่อย่างใด
แต่ !! (อีกแล้ว) มันมีอยู่ประเทศหนึ่งครับ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ได้ทำหน้าโหวตเลือกฝ่ายบริหาร แต่ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน (คณะผู้เลือกตั้ง) เรียกได้ว่า ทั้งสองฝ่ายนี้ แยกออกจากกันเด็ดขาด ประเทศนั่นคือ ข้อ ค. สหรัฐอเมริกา นั่นเองงงงง ส่วนที่เหลือ ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกกันเองของฝ่ายนิติบัญญัติจ้าา
สำหรับน้องๆ คนไหนที่กำลังมองหา ค่ายติวสรุปเนื้อหาสำคัญก่อนสอบ 1 วัน แบบไป-กลับ พี่ขอแนะนำ Law One Day Camp 2019 : Final Camp ตอบโจทย์ให้กับน้อง ๆ ที่เนื้อหา ยังไม่แน่น ไม่รู้จะอ่านอะไรบ้างได้แน่นอน ^ ^ รีบ ๆ น้าาา ค่ายนี้เต็มเร็วมาก