ข้อนี้เทคนิค คือ น้อง ๆ ต้องหาให้ได้ก่อนว่าใครเป็นชาวบ้าน เพราะชาวบ้าน สามารถพูดโกหก หรือความจริง ก็ได้

– วิเคราะห์คำพูดนายอู๋ ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ผมไม่ใช่ผู้หยั่งรู้”

นายอู๋เป็นผู้หยั่งรู้หรือเปล่า ? ผู้หยั่งรู้จะไม่พูดโกหกและพูดความจริงเสมอ หากนายอู๋เป็นผู้หยั่งรู้จริง จะพูดว่าตัวเองไม่ใช่ผู้หยั่งรู้ไม่ได้ เพราะจะเท่ากับพูดโกหก

แล้วนายอู๋เป็นหมาป่าหรือเปล่า ? หมาป่าจะพูดโกหกเสมอ ดังนั้น หากนายอู๋เป็นหมาป่าจริง การที่บอกว่า ตัวเองไม่ใช่ผู้หยั่งรู้ จะเท่ากับกำลังพูดความจริงอยู่ ซึ่งผิดนิสัยหมาป่า

เมื่อตัดผู้หยั่งรู้ และหมาป่าไปนายอู๋จึงเป็นชาวบ้านนั่นเอง

– วิเคราะห์คำพูดนางสาวแก้วตา ซึ่งกล่าวไว้ว่า “หนูไม่ใช่ชาวบ้าน” หากแก้วตาเป็นหมาป่า แล้วบอกว่าไม่ใช่ชาวบ้าน จะเท่ากับพูดความจริง ซึ่งผิดนิสัยหมาป่าที่จะต้องโกหกเสมอ

เมื่อนายอู๋เป็นชาวบ้านไปแล้ว และตัดหมาป่าไปนางสาวแก้วตาจึงเป็นผู้หยั่งรู้

– วิเคราะห์คำพูดนายต้า ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ผมไม่ใช่หมาป่า”

เมื่อนายอู๋เป็นชาวบ้านไปแล้ว และแก้วตาเป็นผู้หยั่งรู้ไปแล้ว นายต้าจึงเป็นหมาป่า

เป็นอย่างไรบ้างครับน้อง ๆ ง่ายมากเลยเนอะ นี่เป็นตัวอย่างแนวข้อสอบ ที่จะวัดความสามารถการใช้วิจารณญาณของน้อง ๆ พยายามฝึกทำข้อสอบประเภทนี้เยอะ ๆ จะทำให้น้องทำข้อสอบได้แน่นอน

? สำหรับน้อง ม.6 ที่จะสอบปีนี้ มีคอร์สติวสอบตรงนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทั้งแบบ Online และรอบสด

? สำหรับน้อง ม.4 – 5 ที่จะสอบปี 64 – 65 มีคอร์สติวรอบปิดเทอม